รู้จัก Silicon Valley Bank เจาะสาเหตุ "แบงก์ยักษ์ล้ม"
คลัง-แบงก์ชาติ จับตา SVB ล้มใกล้ชิด ย้ำยังไม่กระทบไทยโดยตรง
จากกรณีการปิดตัวของสถาบันการเงินสหรัฐอเมริกา ทั้ง ธนาคารซิลเวอร์เกต (Silvergate Bank) ธนาคารซิลิคอนแวลลีย์ (Silicon Valley Bank) และ ธนาคารซิกเนเจอร์ (Signature Bank) จากปัญหาการขาดสภาพคล่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า จะยังคงเป็นปัญหาระยะยาวจนยืดเยื้อ และไม่จบลงในเร็ว ๆ นี้ จนอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวลงเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค แต่เชื่อว่ายังไม่รุนแรงเท่าวิกฤตวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ในปี 2551
น.ส.ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า วิกฤตธนาคารสหรัฐฯครั้งนี้ แตกต่างวิกฤตวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ในปี 2551 โดยมี 3 ปัจจัยหลักมาจากปัญหางบดุลของธนาคารที่ไม่สมดุล การผ่อนคลายกฎเกณฑ์ของสหรัฐฯ และอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อพอร์ตตราสารหนี้
โดยปัจจุบันการของสินเชื่อฉุกเฉิน (Emergency Loan) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด (Fed) อยู่ที่ประมาณกว่า 300,000 ล้านดอลลาร์ และล่าสุดมีโครงการปล่อยกู้ให้ธนาคารพาณิชย์ (Bank Term Funding Program) ราว 12,000 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ปริมาณการขอสินเชื่อฉุกเฉินเพิ่มสูงใกล้เคียงกับในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ อยู่ที่ 360,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งต้องติดตามว่า เฟด จะใช้เครื่องมืออะไรในการเข้าแก้ไข
นอกจากนี้การผ่อนคลายกฎหหายของสหรัฐฯ ก็เป็นต้นเหตุหลักของปัญหาธนาคารเช่นกัน โดยในปี 2018 ยุคโดนัลด์ ทรัมป์ ขณะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เข้ามาแก้กฎหมายชื่อ ด็อดแฟรงค์ (Dodd-Frank) ที่คอยกับกับดูแลดูสถาบันการเงินสหรัฐฯ เพราะมองว่าทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ส่งผลให้เกิดสิ่งตามมา เช่น ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องทำ Stress Test ทุกปี (การทดสอบภาวะวิกฤตธนาคาร) และการทำแผนรองรับกรณีมีปัญหาทางการเงินสามารถยืดหยุ่นได้
น.ส.ธัญญลักษณ์ มองว่า ปัญหานี้ไม่รุนแรงเท่าวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ แต่อาจจะยืดเยื้อ เพราะยังมีสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่มีรายได้สุทธิติดลบในไตรมาส 4 ปี 65 คิดเป็นสัดส่วน 6.21% แต่เชื่อว่าสถานะเงินกองทุนของสหรัฐฯยังคงแข็งแกร่ง สามารถจัดการปัญหาเฉพาะหน้าได้
เรื่องนี้คงไม่จบเร็ว เพราะปัญหาของธนาคารในรอบนี้ เป็นปัญหาเชิงโครสร้าง จากความไม่สมดุลในแง่ของสินทรัพย์และหนี้สิน หรือพอร์ตลูกค้าเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง แน่นอนว่าไม่ได้แก้เร็ว และคงไม่ได้มีธนาคารแค่ 1 ถึง 2 แห่งที่ปิดไปแล้ว รวมถึงธนาคารที่จะเข้ามาซื้อกิจการที่ประสบปัญหา น่าจะใช้เวลานานในการปิดดีล ขณะที่ทางการสหรัฐฯเลี่ยงใช้ภาษีประชาชนแก้ปัญหาเพราะใกล้เลือกตั้งประธานาธิบดี อีกทั้งทรัพยากรรอบนี้ไม่เยอะ เพราะเพดานหนี้สูงมาก จึงทำให้การแก้ไขปัญหาใช้เวลาคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
อีกทั้ง เฟด เตรียมจะทบทวนกฎหมาย ด็อดแฟรงค์ ซึ่งอาจต้องใช้เวลากว่าจะผ่านการโหวตในสภาที่มีพรรครีพับลิกัน (ฝ่ายมทรัมป์) ครองเสียงข้างมากและถึงแม้จะสามารถกฎหมายได้แล้ว ธนาคารในสหรัฐฯ ยังจะต้องใช้ระยะเวลาในการปรับโครงสร้างบริษัท ซึ่งจะกระทบกับการดำเนินงาน และผลประกอบการบริษัท จึงมองว่าปัญหานี้ไม่จบเร็วแน่นอน
ท่องเที่ยวพระเอกดันเศรษฐกิจ "กสิกรไทย" คงเป้า จีดีพีไทยปี 66 โต 3.7%
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า วิกฤตธนาคารในสหรัฐฯ ยุโรป จะไม่ส่งผลให้กระทบกับธนาคารพาณิชย์ในไทย เพราะธนาคารไทยไม่มีธุรกรรมกับธนาคารที่มีปัญหาดังกล่าว แบะการลงทุนต่าง ๆ มีสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของเงินกองทุน รวมถึงการถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลมีจำนวนน้อยที่ 200 ล้านบาท
ขณะที่พอร์ตสินเชื่อของธนาคาคารไทย มีสัดส่วน 64% ของสินทรัพย์รวม พอร์ตเงินลงทุนมี 11.7% ของสินทรัพย์รวม และ ซึ่งตรงกันข้ามกับ SVB ที่พอร์ตสินเชื่อมี 35% ของสินทรัพย์รวม และพอร์ตเงินลงทุนมี 55% ของสินทรัพย์รวม
ในฝั่งธนาคารสหรัฐฯที่มีปัญหา มีสัดส่วนโครงสร้างเงินฝากเกินส่วนที่ค่ำประกันจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นเงินฝากจากกลุ่มสตาร์ทอัพ และกลุ่มลงทุน แต่ธนาคารไทยมีการกระจายตัวที่ดีกว่า โดยมีเงินฝากรายย่อยสัดส่วน 55% และที่เหลือเป็นเงินฝากของกลุ่มธุรกิจ หน่วยงานรัฐ และกลุ่มที่ไม่แสวงหากำไร
กรณีเงินไหลออกเร็ว ๆ สมมติ 30 วัน เงินไหลออก 100 บาท เรามีเงินดูแลอยู่ที่ 190 บาท สูงกว่าเงินที่ไหลออกถึง 198%
ด้านพอร์ตลงทุนจากตราสารหนี้ของธนาคารไทยมีสัดส่วนเพียง 6.2% ของกำไรสุทธิ และแต่ละธนาคารก็มีพอร์ตจำนวนไม่มาก ซึ่งมีการจัดการความเสี่ยงด้านดอกเบี้ยที่ดี สำหรับอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารไทยยังมีความเข็มแข็งอยู่ในระดับที่สูงกว่าสหรัฐฯ และยุโรป